เอื้องข้าวตอก / -

ประวัติการค้นพบ: ถูกค้นพบโดย Remi Willemet ในปี ค.ศ. 1796 ในชื่อ Orchis triplicata และมีการย้ายสกุลหลายครั้ง จนกระทั่ง Oakes Ames นักพฤษศาสตร์ชาวอเมริกันเปลี่ยนเป็นชื่อ Calanthe triplicata ตีพิมพ์ในวารสาร Philippine Journal of Science ค.ศ. 1907 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลำต้นมีใบ 5-7 ใบ รูปใบหอก ผิวใบย่น พับจีบ ปลายใบแหลม โค้งลง ช่อดอก 1-2 ช่อ เกิดจากข้างลำต้น ดอก 35-60 ดอก เรียงหมุนเวียนซ้อนกันหลายชั้น ๆ ละ 3-5 ดอก ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงกางออก รูปไข่กว้าง กลีบดอกข้างรูปไข่กลับ กลีบปากสีขาว แยกเป็นแฉกชัด แฉกกลางแยกเป็น 2 หยักห่าง โคนกลีบมีสัน 3-4 สัน สีแดงอมส้ม แฉกข้างรูปแถบ เดือยยาวสีขาว [1] นิเวศวิทยา: ดอกบานเดือนเมษายนถึงมิถุนายน พบตามป่าดิบชื้นหรือป่าดิบเขา เกือบทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง [1] การกระจายพันธุ์: มอริเชียส มาดากัสการ์ เซเชลส์ อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย มาเลเซีย ลาว กัมพูชา จีน เวียดนาม เกาะบอร์เนียว เกาะชวา เกาะซุนดาน้อย หมู่เกาะมาลูกู ฟิลิปปินส์ เกาะซูลาเวซี เกาะสุมาตรา กลุ่มเกาะบิสมาร์ก เกาะนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ออสเตรเลีย ฟีจี นิวแคลิโดเนีย ซามัว วานูอาตู วาลิสและฟูตูนา หมู่เกาะมาร์เคซัส หมู่เกาะซานตาครูซ หมู่เกาะแคโรไลน์ หมู่เกาะมาเรียนา ไต้หวัน หมู่เกาะรีวกีว [2] ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: - เอกสารอ้างอิง: [1] หนังสือบัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพกล้วยไม้ไทย ส่วนที่ 2 https://bedolib.bedo.or.th/book/131 [2] https://en.wikipedia.org/wiki/Calanthe_triplicata


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Calanthe triplicata (Willemet) Ames

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง